ดังที่เราได้เห็นในปีที่ผ่านมา ห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกเป็นระบบนิเวศที่ละเอียดอ่อนที่เราทุกคนพึ่งพาในการจัดหาสินค้าที่จำเป็นและต่อทำให้ความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจ การขีดขวางของคลองสุเอซเป็นตัวอย่างของหายนะบนข้อเท็จจริงนี้ เนื่องจากเรือขนส่งเอเวอร์กรีนที่เกยฝั่งนี้ ครองส่วนแบ่ง 12% ของการค้าโลกในแต่ละวัน แม้ว่าการกีดขวางนี้การขีดขวางครั้งนี้เป็นปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานที่ที่สำคัญ แต่เหตุการณ์อื่น ๆ เช่น การระบาดของ โควิด-19 ทั่วทั้งศูนย์กระจายสินค้าหลักในเอเชีย ก็ส่งผลกระทบร้ายแรงไม่แพ้กัน

มีอุตสาหกรรมมากมายที่พึ่งพาสายการจัดจำหน่ายที่สำคัญเหล่านี้เพื่อส่งผลิตภัณฑ์ไปทั่วโลก และในขณะที่ข้อผิดพลาดขนาดใหญ่อยู่นอกขอบเขตการควบคุมสำหรับบริษัทส่วนใหญ่ แต่ก็มีหลายปัจจัยที่ช่วยรักษากระบวนการจัดจำหน่ายที่แข็งแกร่ง ในด้านเทคนิคระบบ ERP และโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลสามารถทำให้การตรวจสอบและการจัดการดำเนินงานดีขึ้น ในทางกลับกัน การเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลทั้งในระดับสูงและในระดับพื้นฐานสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในเชิงของบุคลากรได้

การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบเหล่านี้อาจเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับองค์กรหากองค์กรดำเนินการด้วยตนเอง โดยเฉพาะพิจารณาจากลักษณะความท้าทายของการจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วโลก การลงทุนในแพลตฟอร์ม ERP ที่มีประสิทธิภาพและการใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดตั้ง ERP ทั่วโลก จะส่งผลให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางธุรกิจสามารถหลีกเลี่ยงหรืออย่างน้อยก็บรรเทาผลกระทบของความท้าทายที่ระบุไว้ด้านล่าง

ความท้าทายของการจัดจำหน่ายเครื่องดื่มสำหรับผู้บริโภคทั่วโลก

อุตสาหกรรมสินค้าบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคประสบความสำเร็จมานานหลายทศวรรษตลอดช่วงปลายศตวรรษที่ 20 และต้นศตวรรษที่ 21 แต่โมเดลนี้ทำให้อุตสาหกรรมตกต่ำอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โมเดล 5 ปัจจัยสำหรับความสำเร็จของ CPG กำลังเผชิญกับความท้าทายหลายอย่างที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในตลาดโลกที่ใช้เทคโนโลยีในปัจจุบัน ประเด็นสำคัญต่อไปนี้คือประเด็นที่ผู้บริโภคเครื่องดื่มและผู้ผลิตสินค้าบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ กำลังเผชิญอยู่

ฐานข้อมูลหลัก

การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปสู่การขายตรงสู่ผู้บริโภคผ่านอีคอมเมิร์ซ ได้ก่อให้เกิดการเติบโตของอุตสาหกรรมในสัดส่วนมหาศาล การเปลี่ยนไปใช้แพลตฟอร์มและระบบออนไลน์ทำให้เกิด Data Lake ใหม่ ๆ ที่ต้องติดตามและจัดการให้สำเร็จ ตั้งแต่การติดตามประสิทธิภาพของผู้จัดจำหน่ายบุคคลที่สามไปจนถึงการวิเคราะห์แนวโน้มความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภค ฐานข้อมูลหลักส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของความสำเร็จของผู้ให้บริการเครื่องดื่มสำหรับผู้บริโภค

การปฏิบัติที่สำคัญ เช่น การกำกับดูแลข้อมูลหลักและการจัดการข้อมูลหลัก จะต้องถูกดำเนินการอย่างเหมาะสมเพื่อรักษาความสมบูรณ์ของข้อมูลเชิงกลยุทธ์ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจจำนวนมากไม่มีนโยบายหรือแนวทางทางด้านข้อมูลที่เหมาะสม ซึ่งจำกัดความสามารถในการใช้ข้อมูลที่ถูกต้อง ในการระบุแหล่งรายได้ใหม่ ลดต้นทุน และการทำให้กระบวนการดีขึ้น

หน่วยที่จำแนกประเภทสินค้า (SKU)

ทุกคนที่อยู่ใน CPG และภาคการค้าปลีกรู้ดีว่า หน่วยที่จำแนกประเภทสินค้านั้นมีความสำคัญต่อการกระจายสินค้าที่ถูกต้อง บาร์โค้ดที่สแกนได้ ได้ปฏิวัติการจัดการสินค้าคงคลังและยังช่วยรวบรวมข้อมูลการขาย รวมถึงการประมวลผลที่สำคัญอีกด้วย น่าเสียดาย หากไม่มีระบบที่เหมาะสม ระบบการจำแนกสินค้าอาจเพิ่มปัญหาอย่างแพร่หลายจากตัวของระบบเอง

เมื่อเครื่องดื่มสำหรับผู้บริโภคและบริษัทสินค้าบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ ขยายสินค้าคงคลัง หน่วยจำแนกประเภทสินค้าใหม่ ๆ ก็จะได้รับการพัฒนาเพื่อรองรับผลิตภัณฑ์นั้น ๆ นี่เป็นสัญญาณที่ดีของการเติบโตของบริษัท แต่มันอาจเปลี่ยนเป็นฝันร้ายของฝ่ายบริหารได้อย่างรวดเร็วหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม ด้วยเหตุนี้ เงินทุนจึงติดอยู่กับผลิตภัณฑ์ คลังสินค้าออนไลน์ยากต่อการเพิ่มประสิทธิภาพ และค่าธรรมเนียมการจัดเก็บอาจขึ้นสูงอย่างฉับพลัน

การจัดการสต็อค 3PL

การจัดการสต็อคช่วยลดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุน และป้องกันการสูญเสียผลิตภัณฑ์ ในขณะที่เทคโนโลยียังคงเปลี่ยนโฉม อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค และอุตสาหกรรมลอจิสติก แพลตฟอร์มโลจิสติกของบุคคลที่สามช่วยให้ห่วงโซ่อุปทานทำงานได้อย่างราบรื่น น่าเสียดายที่ระบบเหล่านี้อาจเป็นความท้าทายในการบูรณาการกับเครื่องมือซอฟต์แวร์ภายในองค์กรที่ถูกใช้โดยโดยผู้ผลิตทั้งหลาย หากไม่มีการบูรณาการอย่างเหมาะสม เครื่องมือการจัดการสต็อค 3PL จะกลายเป็นกระบวนการที่สิ้นเปลือง

สามหลัก C ของเครื่องดื่มสำหรับผู้บริโภค

ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องดื่มเพื่อผู้บริโภคที่มีประสบการณ์ทราบดีว่าความท้าทายต่อไปนี้เป็นอุปสรรคต่อการรักษาสาม C ของเครื่องดื่มสำหรับผู้บริโภคได้แก่ Cost Control, Margin Control, Budget Control ซึ่งหมายถึงการควบคุมต้นทุน การควบคุมมาร์จิ้น และการควบคุมงบประมาณ หากไม่มีการควบคุมปัจจัยเหล่านี้อย่างเหมาะสม การเติบโตในภาคธุรกิจเครื่องดื่มสำหรับผู้บริโภคย่อมเป็นไปไม่ได้

การควบคุมต้นทุน: กรรมวิธีการระบุและลดกระบวนการที่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเพื่อเพิ่มกำไร

การควบคุมมาร์จิ้น: กระบวนการที่สร้างความมั่นใจว่าเปอร์เซ็นต์ยอดขายที่เพิ่มขึ้นนั้นถูกเปลี่ยนเป็นกำไร

การควบคุมงบประมาณ: ขั้นตอนการบริหารรายจ่ายเพื่อที่ทำให้เกิดกำไรมากขึ้น

กลุ่มตลาดเครื่องดื่มสำหรับผู้บริโภคมองเห็นมาร์จิ้นกำไรที่สูงกว่าอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มอื่นๆ อย่างไรก็ตาม สำหรับบริษัท นักลงทุนตราสารทุน และ M&A group ที่จะตระหนักถึงประโยชน์เหล่านี้ ได้ตระหนักถึงความจำเป็นของการจัดตั้ง ERP ที่ประสบความสำเร็จ

ความสำเร็จในการจัดตั้ง ERP ในตลาดเครื่องดื่มสำหรับผู้บริโภค

เมื่อองค์กรในอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคและเครื่องดื่มสำหรับผู้บริโภคได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบทางดิจิตอลหรือการอัพเดทระบบ ERP มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ กลุ่มผู้ขายที่มีประสบการณ์และทีมผู้เชี่ยวชาญในการจัดตั้งระบบ การลงทุนเหล่านี้มากกว่าการจ่ายสำหรับตัวเอง เนื่องจากปัญหาทั่วไปในห่วงโซ่อุปทานนั้นหลีกเลี่ยงได้ โดยใช้การดำเนินงานต่อไปนี้:

การถ่ายโอนธุรกิจ: เมื่อธุรกิจเปลี่ยนเจ้าของ การใช้งานและบูรณาการของ ERPS ใหม่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเริ่มต้นใช้งาน

พอร์ทัลลูกค้าและการบูรณาการ: การการสรรหาเครื่องดื่ม B2B และ D2C ให้กับผู้บริโภคด้วยประสบการณ์การใช้งานที่ราบรื่นช่วยรักษาฐานลูกค้าและความพึงพอใจของลูกค้า

การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ: ระบบนิเวศออนไลน์ใหม่กำลังขับกำลังนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิตอลเพื่อเพิ่มผลผลิตและกำไรในอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค

ระบบอัตโนมัติ: งานบริหารแบบดั้งเดิมจำนวนมากเกี่ยวข้องกับการผลิตในอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งตอนนี้สามารถทำให้คล่องตัวมากขึ้นผ่านแพลตฟอร์ม ERP ได้แล้ว

โลจิสติกของบุคคลที่สามและสี่: การบูรณาการระบบ 3PL กับ ERP แบบดั้งเดิมเพื่อนำไปใช้กับระบบ 4PL ในการจัดการซัพพลายเชนให้ดีขึ้น

หากคุณสนใจว่าการจัดตั้ง ERP ที่ประสบความสำเร็จสามารถทำให้การควบคุมต้นทุนอัตรากำไรและงบบริษัทเครื่องดื่มเพื่อผู้บริโภคของคุณนั้นดีขึ้นได้อย่างไร โปรดติดต่อเราและเป็นส่วนหนึ่งระบบได้เลย!

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ be one solutions